
1. น้ำซักผ้า
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการซักผ้า เพราะเราไม่สามารถซักผ้าได้ถ้าไม่มีน้ำ คุณภาพของน้ำที่ใช้จะมีผลต่อการซักอย่างมาก คุณภาพของน้ำจะขึ้นกับแหน่งน้ำ อย่างไรก็ตามน้ำที่เรานำมาใช้ซักผ้าควรผ่านกระบวนการเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมก่อน
2. แหล่งน้ำ
แหลางน้ำที่จะนำมาใช้อาจจะแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
2.1 น้ำฝน
น้ำฝนเมื่อตกลงมาจะผ่านอากาศจึงเจือปนสารในอากาศ ดังนั้นความบริสุทธิ์ของน้ำฝนจึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม น้ำฝนในเขตเกษตรกรรมย่อมบริสุทธิ์กว่าน้ำฝนในเขตอุตสาหกรรม โดยทั่วไปแล้วสารเจือปนน้ำฝนมักจะประกอบด้วย
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- เกลือแอมโมเนีย
- เกลือไนเตรต
- เกลือคลอไรด์
- เกลือซัลเฟต
น้ำฝนจัดว่าเป็นน้ำอ่อน
2.2 น้ำแม่น้ำ
ความบริสุทธิ์ของแม่น้ำขึ้นอยู่กับ
- ฤดู
- ชนิดของชั้นดินที่น้ำผ่าน
- ของเสียจากโรงงานและเมืองตามชายฝั่งแม่น้ำ
ถ้าแม่น้ำผ่านบริเวณที่มีหินปูน น้ำจะกระด้างมาก ในฤดูฝนความกระด้างจะลดลง
2.3 น้ำบ่อ
คุณภาพของน้ำบ่อ/บาดาล จะขึ้นอยู่กับชั้นดินที่น้ำซึมผ่าน ดังนั้น น้ำบ่อ/บาดาล แต่ละแห่งจะทีคุณภาพแตกต่างกันออกไป
2.4 น้ำประปา
น้ำประปาเป็นแหล่งน้ำที่มนุษย์ทำขึ้น คุณภาพของน้ำจะขึ้นอยู่กับวิธีการทำและความต้องการโดยทั่วๆ ไปน้ำประปาบ้านเรามีความกระด้างค่อนข้างน้อยถึงปานกลาง และจะมีความบริสุทธิ์พอสมควร
น้ำบ่อ/บาดาล น้ำประปา เป็นแหล่งน้ำที่ใช้มากในโรงซักผ้าบ้านเรา
3. ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำ
คุณสมบัติสำคัญและเป็นพื้นฐานของน้ำมีดังนี้
3.1 ความกระด้าง
ความกระด้างอธิบายในรูปของปริมาณเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมในน้ำ น้ำที่มีเกลือเหล่านี้สูงเรียกว่าน้ำกระด้าง น้ำที่มีเกลือเหล่านี้ต่ำหรือไม่มีเลยเรียกว่า น้ำอ่อน ความกระด้างแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1.1ความกระด้างชั่วคราว
คือ น้ำที่มีเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมคาร์บอเนตละลายอยู่ เมื่อน้ำไปต้มจะตกตะกอนเป็นเกลือคาร์บอเนตซึ่งไม่ละลายน้ำ หรือที่เรียกว่าตะกรัน ทำให้น้ำหายกระด้างได้ ถ้าเกลือคาร์บอเนตมีอยู่ในน้ำที่ใช้ซักผ้า เมื่ออุณหภูมิสูงจะเกิดเกลือคาร์บอเนตจับอยู่ที่เครื่องซักผ้าได้
3.1.2 ความกระด้างถาวร
คือ น้ำที่มีเกลือซัลเฟต ไนเตรด และคลอไรด์ของแคลเซียมและแมกนีเซียมละลายอยู่ ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้โดยวิธีการต้ม ความกระด้างมากหรือน้อยจะกำหนดเปรียบเทียบในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนตโดยมีหน่วยต่างๆ ดังนี้
- 1 องศาฝรั่งเศส = 10 ส่วนในล้านส่วนของแคลเซียมคาร์บอเนต (ppm of CaCO3)
- 1 องศาเยอรมัน = 10 ส่วนในล้านส่วนของแคลเซียมออกไซด์ (ppm of CaO)
- 1 องศาอังกฤษ = 14, 3 ส่วนในล้านส่วนของแคลเซียมคาร์บอเนต (ppm of CaCO3)
- 1 องศาอเมริกัน = 1 ส่วนในล้านส่วนของแคลเซียมคาร์บอเนต (ppm of CaCO3)
ความสัมพันธ์ของหน่วยต่างๆ สามารถเทียบกันได้โดยใช้ตาราง
3.2 ความเป็นด่าง
ความเป็นด่างของน้ำวัดได้จากปริมาณของเกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตในน้ำ ความเป็นด่างในน้ำจะมีอิทธิพลต่อผลของการซักผ้าดังจะกล่าวต่อไป
3.3 ค่า PH
เป็นการวัดความเป็นด่างของน้ำอีกแบบหนึ่ง ซึ่งวัดเป็นความเข้มข้นของไฮดรอกไซต์ไออนในน้ำ ค่า PH มีตั้งแต่ 1-14 สารที่เป็นกลางจะมีค่า PH เป็น 7 ค่า PH ที่น้อยกว่า 7 จะเป็นกรด ยิ่งน้อยยิ่งมีความเป็นกรดแก่มาก และค่า PH ที่มากกว่า 7 จะแสดงความเป็นด่าง ยิ่งมากยิ่งแสดงความเป็นด่างแก่มาก
3.4 สิ่งเจือปนอื่นๆ
สิ่งเจือปนที่อาจพบได้ในน้ำได้แก่
3.4.1 สารประกอบของเหล็ก แมงกานิส และทองแดง
3.4.2 สารประกอบของโซเดียมและโปตัสเซียม
3.4.3 สารประกอบของซิลิกา หรือซิลิเกต
3.4.4 สารประกอบของไนโตรเจน
3.4.5 ก๊าซต่างๆ
4. คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการซักผ้า
น้ำที่ใช้ในการซักผ้าเพื่อให้ได้ผลดี ควรมีคุณสมบัติต่อไปนี้
4.1 ความกระด้าง น้อยกว่า 6 องศาฝรั่งเศล
4.2 ปริมาณเหล็ก น้อยกว่า 1 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
4.3 ปริมาณแมงกานีส น้อยกว่า 1 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
4.4 ค่า PH มีค่าอยู่ระหว่าง 6-7
5. อิทธิพลของน้ำที่มีต่อผลของการซักผ้า
น้ำที่มีคุณสมบัตอต่างกันจะมีอิทธิพลต่อผลของการซักผ้าต่างกันดังนี้
5.1ผลของความกระด้าง
น้ำที่จะใช้ในการซักผ้าควรเป็นน้ำอ่อน การใช้น้ำกระด้างจะเกิดผลเสียคือ
- เปลืองเคมีที่ใช้ เนื่องจากเคมีส่วนหนึ่งจะทำปฎิกริยากับความกระด้างและหมดสภาพไปจึงต้องใช้เคมีมากขึ้น
- ความกระด้างของน้ำจะทำให้ผ้าหมองคล้ำและไม่อ่อนนุ่ม
5.2 ผลของความด่าง
ในชั้นของการซักผ้า ประสิทธิภาพของการซักจะดีในสภาพของน้ำซักผ้าที่มีความเป็นด่างสูง ความเป็นด่างของน้ำซักผ้าจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของเคมีที่ใช้
อย่างไรก็ตามในการล้างผ้าโดยเฉพาะในน้ำล้างสุดท้าย จะต้องพยายามล้างเอาความเป็นด่างออกให้มากที่สุด ความเป็นด่างในน้ำล้างสุดท้ายโดยปกติแล้วควรจะสูงกว่าความเป็นด่างของน้ำก่อนใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากความเป็นด่างในน้ำล้างสุดท้ายสูงแสดงว่ามีเกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตตกค้างในเนื้อผ้ามาก ซึ่งมีผลทำให้ผ้าหมองคล้ำเมื่อผ่านการรีด
5.3 ผลของสิ่งเจือปนอื่นๆ
5.3.1 สารประกอบของเหล็ก แมงกานีส และทองแดง
สารประกอบของทั้งสามอย่างนี้อาจจะมาจากแหล่งน้ำ และเหล็กของทองแดงอาจจะถูกละลายออกจากท่อน้ำส่ง เกลือของสารทั้งสามมักจะมีสีซึ่งอาจติดบนผ้าได้ เปลืองเคมีและน้ำยาซักผ้า ในการฟอกออก ซึ่งเป็นผลทำให้ลดอายุการใช้งานของผ้าอีกด้วย
แมงกานีสและทองแดงมักจะพบน้อยและมีปริมาณน้อย ดังนั้นการกำจัดสารสองอย่างนี้ไม่ค่อยจำเป็นนัก แต่สำหรับเหล็กมักจะพบเป็นส่วนมาก และถ้าพบว่ามีมากกว่า 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตรแล้ว จะทำให้ผ้าออกสีแดงหรือหมองคล้ำได้ จึงจำเป็นต้องกำจัดเหล็กออกจากน้ำเสียก่อน
5.3.2 สารประกอบของโซเดียมและโปตัสเซียม
โดยทั่วไปสารประกอบของสารนี้ไม่มีผลต่อการซัก นอกเสียจากว่ามีปริมาณที่มากเกินไป เช่น น้ำทะเลซึ่งนอกจากทีความกระด้างมากแล้ว ยังมีเกลือแกงประมาณ 3-5% ที่ไม่เหมาะสำหรับการซักผ้า
5.3.3 สารประกอบของซิลิกาหรือซิลิเกต ไนโตรเจน และก๊าซต่างๆ
สารเหล่านี้มีมักจะพบน้อยมาก และไม่มีผลต่อการซักผ้า
6. ขบวนการปรับสภาพทั่วไป
ขบวนการปรับสภาพน้ำก่อนนำไปใช้นั้นมีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำจากแหล่งต่างๆ ขบวนการต่างๆ สรุปได้ดังนี้
6.1 การตกตะกอน
เพื่อให้ของแข็งต่างๆ ที่แขวนลอยอยู่ตกตะกอน ซึ่งเป็นได้ทั้งการตกตะกอนตามธรรมชาติหรือโดยใช่ปฎิกริยาเคมี
6.2 การกรอง
เพื่อขจัดของแข็งที่ยังอาจตกค้างอยู่ในน้ำหลังจากตกตะกอน การกรองสามารถทำได้โดยผ่าน ทราย หิน ผงถ่าน
6.3 การฆ่าเชื้อ
เพื่อการฆ่าเชื้อโรคที่มีอยู่ในน้ำ ซึ่งอาจทำได้โดย
- ใช้ความร้อน
- ใช้สารพวกคลอรีน
- กรองผ่านแผ่นกรองบางชนิด
- ใช้โอโซน หรือรังม่วงเหนือม่วง
6.4 การทำให้เป็นกลาง
เพื่อขจัดคาร์บอนไดออกไซต์ซึ่งทำให้ท่อน้ำผุ ซึ่งทำได้โดย
- เติมด่าง เช่น โซเดียมคาร์บอเนต หรือปูนขาว
- กรองผ่านแคลเซียมคาร์บอเนต
6.5 การขจัดเหล็ก
สารที่ขจัดเหล็กในน้ำ ได้แก่ ปูนขาว หรืออาจใช้วิธีพ่นน้ำขึ้นไปในอากาศ จะทำให้สนิมเหล็กตกตะกอน แล้วกรองออกไป
6.6 การขจัดแร่เกลือ
เพื่อขจัดเกลือแร่ที่มีอยู่ในน้ำ รวมทั้งลดความกระด้างของน้ำด้วย โดยทั่วไปจะขจัดได้โดยวิธี Ion Exchange
6.7 การขจัดเกลือแร่และความกระด้างด้วยวิธีเคมี
เป็นวิธีหนึ่งนอกเหนือจากวิธี Ion Exchange